WELCOME TO BLOG PANWISA WIWITCAI

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 7

***อบรมการผลิตสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย***


สื่อของเด็กปฐมวัย

        สื่อ หมายถึง ตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้หรือเป็นตัวกลางใน

การนำความต้องการจากผู้ส่งไปยังผู้รับเพื่อให้เกิดผลตาม

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประเภทสื่อของเด็กปฐมวัย

        1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ

        2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์

        3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ

การเลือกสื่อ มีวิธีการดังนี้

        1. เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมายและเรื่องที่สอน

        2. เลื่อกให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถของเด็ก

        3. เลือกให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นที่เด็กอาศัยอยู่

การจัดหาสื่อ

        1. จัดหาโดยการของยืมจากแหล่งต่างๆ

        2. จัดซื้อสื่อ

        3. ผลิตขึ้นเอง

การใช้สื่อ

      ในการใช้สื่อการสอนทุกครั้ง ต้องมีการเตรียมความพร้องของสื่อ

ก่อนที่จะนำไปใช้ โดยมีขั้นตอนดังนี้คือ

         1. เตรียมครูผู้สอน

         2. เตรียมตัวเด็ก

         3. เตรียมสื่อ

การนำเสนอสื่อ 

         1. เร้าความสนใจเด็กด้วยคำถามก่อน

         2. ใช้สื่อดำเนินกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนที่วางแผนไว้

         3. ไม่ควรให้เด็กเห็นสื่อก่อน เพราะอาจทำให้เด็กหมดความสนใจ

การดูแล การเก็บรักษาสื่อ

         1. เก็บให้เป็นระเบียบตามประเภทของสื่อ

         2. วางสื่อไว้ในระดับสายตาเด็ก เพื่อที่เด็กสามารถหยิบใช้ง่าย

         3. เก็บสื่อไว้ในภาชนะที่โปร่งใส เพื่อให้เด็กมองเห็นสื่งที่อยู่

ข้างใน และควรมีขนาดพอเหมาะที่เด็กสามารถขนย้ายได้

         4. ฝึกให้เด็กรู้ความหมายของรูปภาพ สี สัญลักษณ์แทนหมวด

หมู๋ ประเภท เพื่อให้เด็กสามารถเก็บได้อย่างถูกต้อง

         5. ตรวจสอบสภาพสื่อทุกครั้งหลังใช้เสร็จ

         6. ซ่อมแซมสื่อที่ชำรุด และเติมส่วนที่ขาดหายไป

        การประเมินสื่อ  พิจารณาจากองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ผู้สอน

 เด็ก และสื่อ ใช้วิธีการสังเกตดังนี้

         1. สื่อนั้นช่วยให้เด็กเรียนรู้มากเพียงใด

         2. เด็กชอบสื่อนั้นมากเพียงใด

         3. สื่อนั้นช่วยให้การสอนตรงกับจุดประสงค์มากหรือไม่ ถูกต้อง

ตามสาระการเรียนรู้และทันสมัยหรือไม่

        4. สื่อนั้นช่วยให้เด็กสนใจมากน้อยเพียใด เพาระเหตุใด

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 5

การเรียนการสอน

  อาจารย์ให้เพื่อนนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์
*** หมายเหตุ ไม่ได้เข้าเรียน

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 4

การเรียนการสอน

อาจารย์เปิด VDO เรื่องอากาศที่เกี่ยวกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้ดูหลังจากนั้นอาจารย์แจกกระดาษให้โยพับกระดาษเป็น 8 แผ่น แล้วแม็กติดกัน อาจารย์สั่งให้วาดภาพใส่แผ่นกระดาษจำนวน 8 แผ่น โดยภาพที่วาดต้องสอดคล้องกันเพิ่มภาพที่ละอย่างจนกระดาษแผ่นสุดท้ายเป็นภาพวาดที่เเสร็จสมบูรณ์ เป็นภาพแบบต่อเนื่อง


ความรู้เพิ่มเติม
อากาศคือ  ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ  และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่  ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน  นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ  ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย  อากาศมีอยู่รอบ ๆ  ตัวเราทุกหนทุกแห่ง  ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน  อากาศมีอยู่ในบ้าน  มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์  อากาศไม่มีสี  ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น รูปภาพวิวบรรยากาศคืออะไร
     บรรยากาศคือ  ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้บรรยากาศคงสภาพอยู่ได้  บรรยากาศมีความหนา 310 ไมล์ และมีถึง 4 ชั้น  นักวิทยาศาสตร์แบ่งบรรยากาศออกเป็น 4 ชั้น  ตามอุณหภูมิ  ชั้นแรกมีชื่อเรียกว่า โทรโพสเฟียร์ (Troposhere)  ชั้นสูงถัดจากโทรโพสเฟียร์ คือ ชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratoshere)  เมโสสเฟียร์ (Mesosphere)  และชั้นบนสุดคือ เทอร์โมสเฟียร์ (Thermoshere)  อากาศในบรรยากาศแต่ละชั้นจะแตกต่างกัน  แต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโลก

บรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์

     เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด  มีความหนาประมาณ 12 กิโลเมตร  เมฆ  พายุ  ลม และลักษณะอากาศต่าง ๆ  เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้ อุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้จะเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและรวดเร็วกว่าบรรยากาศชั้นอื่น ๆ 
ภาพเครื่องบิน
บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์

     บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์  อยู่เหนือขึ้นไปจากบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์  มีความสูงของชั้นบรรยากาศประมาณ 50 กิโลเมตร  บรรยากาศชั้นนี้มีก๊าซโอโซนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย และก๊าซโอโซนนี้เองที่ทำหน้าที่ดูดซับรังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์  ซึ่งเป็นรังสีอันตรายต่อผิวหนังของมนุษย์และพืช  ไม่ให้ส่องลงมากระทบถึงพื้นโลก
บรรยากาศชั้นเมโสสเฟียร์

     เมโสสเฟียร์อยู่เหนือบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ และอยู่สูงขึ้นไปไม่เกิน 85 กิโลเมตร  บรรยากาศชั้นเมโสสเฟียร์เป็นชั้นที่มีอุณหภูมิต่ำสุด  สะเก็ดดาวเป็นทางยาวจะปรากฎให้เห็นในระดับบน ๆ ของบรรยากาศชั้นเมโสสเฟียร์นี้
บรรยากาศชั้นเทอร์โมสเฟียร์

     ชั้นบรรยากาศเทอร์โมสเฟียร์เริ่มในระดับ 85 กิโลเมตร  เหนือพื้นโลกและสูงขึ้นไป ๆ  จนจางหายไปในอากาศ  อากาศกว่า 99%  ของเราอยู่ใต้บรรยากาศชั้นเทอร์โมสเฟียร์  อากาศในชั้นนี้บางมาก และเพราะอากาศบางนี้เองที่ทำให้ได้รับผลกระทบจากแสงอาทิตย์แรงมาก  จนมีผลทำให้อุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้สูงมาก
 เครื่องบินที่บินอยู่ในบรรยากาศจะบินอยู่ในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์  เพื่อจะได้อยู่เหนือหิมะ  พายุฝน และลมแรง
     อากาศเป็นตัวนำคลื่นเสียง  ถ้าไม่มีอากาศเราจะไม่ได้ยินเสียงดนตรี  เสียงสุนัขเห่า หรือเสียงคนพูดคุยกัน  อากาศยังใช้เคลื่อนย้ายสิ่งต่าง ๆ  อากาศทำให้เรือใบแล่นข้ามทะเลสาบ  ทำให้ใบกังหันของกังหันลมในท้องนาหมุน  เราใช้อากาศในการเล่นว่าว  เป่าลูกโป่ง และสูบลมลูกบอล  เราทุกคนต่างใช้อากาศทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมายในแต่ละวัน
มนุษย์หายใจเอาอากาศเข้าไปเพื่อมีชีวิตอยู่รอด  เราทุกคนสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้เพียง 2-3 นาที  เท่านั้นหากขาดอากาศหายใจ  อากาศช่วยค้ำจุนชีวิตของพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในโลก  อากาศในชั้นบรรยากาศยังช่วยปกป้องพืชบนโลกจากรังสีที่เป็นอันตรายของดวงอาทิตย์และจากความร้อนที่รุนแรง
ภาพเด็กเล่นว่าว
 ก๊าซแต่ละชนิดในอากาศล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้นโดยแต่ละชนิดจะช่วยปกป้องสิ่งมีชีวิต  ก๊าซทุกชนิดในอากาศจำต้องมีความสมดุล  ตัวอย่างเช่นหากระดับของออกซิเจนในอากาศลดลงในทันที  เราจะหายใจด้วยความยากลำบาก  หากก๊าซต่าง ๆ ในอากาศขาดความสมดุล  รังสีที่เต็มไปด้วยความอันตรายจากดวงอาทิตย์สามารถเข้าสู่บรรยากาศของเราได้
อากาศภายในบ้าน
ท่านทราบหรือไม่ว่าอากาศภายในบ้านบางแห่งปรากฎว่า  มีระดับมลพิษทางอากาศสูงกว่าอากาศภายนอก  ซึ่งบางครั้งมีระดับมลพิษสูงเป็น 10 เท่าของมลพิษข้างนอก  แม้แต่อากาศที่ท่านหายใจเข้าไปก็มีมลพิษแต่ไม่เพียงพอที่จะทำให้ท่านรำคาญหรือเจ็บป่วย  อาคารทุกแห่งที่ไม่ได้มีการระบายลมที่ดี  ซึ่งหมายความว่าอากาศไม่สามารถเคลื่อนตัวได้โดยรอบในอาคารสำนักงานใหม่ ๆ  ไม่มีการเปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศบริสุทธิ์พัดผ่านเข้ามา  นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพลาสติก  ยังพ่นละอองไอที่เป็นอันตราย  หากสะสมในอากาศเป็นจำนวนมากจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย


ที่มา : รวบรวมจาก กองส่งเสริมและเผยแพร่  กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม




วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 3


การเรียนการสอน


  • อาจารย์เรื่องที่เรียนไปสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย ความคิดสร้างสรรค์ต้องมีฐานความรู้ก่อน การจัดกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ของแต่ละกลุ่มว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร และแต่ละกลุ่มมีเครื่องมืออะไรมานำเสนอ เช่น my map และตารางแมททริก เป็นต้น
  • อาจารย์ให้ช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้เรียนในสัปดาห์ที่แล้ว เรื่อง "วิทยาศาสตร์" เป็น my map ดังนี้ 

 

เพื่อนๆช่วยกันสรุปความรู้เรื่อง "วิทยาศาสตร์"


  • อาจารย์ให้ดู VDO วิทยาศาสตร์แสนสนุกสำหรับเด็ก เรื่อง "ความลับของแสง" โดยข้าพเจ้าสรุปเนื้อหาที่ได้จากการดูดังนี้
          แสงเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ได้เร็ว แสงช่วยให้เรามองเห็นได้ 
          สาเหตุที่เราสามารถมองเห็นวัตถุได้ คือ แสงจะส่องกระทบกับวัตถุแล้วมากระทบกับตาของเราอีกทีหนึ่ง 
          คุณสมบัติของแสง -->  แสงเดินทางเป็นเส้นตรงไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง
          วัตถุมี 3 ประเภท ดังนี้
  1. วัตถุโปร่งแสง -->  แสงเดินทางผ่านวัตถุบางชนิดเท่านั้น
  2. วัตถุโปร่งใส   -->  แสงเดินทางผ่านวัตถุไปได้ทั้งหมด เช่น พลาสติกใส กระจก เป็นต้น
  3. วัตถุทึบแสง   -->  แสงไม่สามารถเดินทางผ่านวัตถุได้
          ประโยชน์
     การนำแสงมาทำเป็นเครื่องฉายภาพ เป็นต้น

ดู VDO เรื่อง "ความลับขอลแสง"



  • อาจารย์ให้สรุปความรู้ที่ได้จากการดู VDO เรื่อง "ความลับของแสง" โดยเขียนลงกระดาษดังนี้


การบ้าน
  1. หาเศษวัสดุนำมาทำเป็นของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย 1 ชิ้น ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 
  2. เก็บใบไม้สด 1 ใบ แล้วนำไปทับในหนังสือให้แห้ง