WELCOME TO BLOG PANWISA WIWITCAI

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 13

การเรียนการสอน


        นำเสนอสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ที่อาจารเคยให้เอากล่องลังไปทำกลุ่มละ 3 คน ว่ามีวิธีการทำอย่างไรและเมื่อเด็กเล่นจะสอนเด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เรื่องอะไรได้บ้าง เด็กมีวิธีเล่นสื่อที่ประดิษฐ์มาอย่างไร และให้เพื่อนนำเสนองานที่ค้างไว้ของเล่นของข้าพเจ้าคือ เรือแรงดันน้ำ


                      



            


 วิธีทำ



1. นำจานพลาสติกและถ้วยโฟมวัดกับแก้วกระดาษเพื่อเจาะรู

2.  เจาะรูจานพลาสติกและถ้วยโฟมกว้างจนกว่าแก้วกระดาษจะเอาเข้าไปได้

3.   เจาะรูแก้วกระดาษเพื่อที่จะเอาหลอดกาแฟเข้าไปได้

4.   นำจานพลาสติกและถ้วยโฟมที่เจาะรูมาปะกบกันนำแก้วมาตั้งเข้าไปตรงกลางจานพลาสติกและถ้วยโฟมที่เจาะรูไว้ นำหลอดกาแฟไปใส่ตรงแก้วกระดาษที่เจาะรูไว้แล้วทากาวเพื่อให้เกิดแรงดันน้ำผ่านหลอดลงไปกบพร้อมทั้งติดเทปใสจานพลาสติกและถ้วยโฟมที่ปะกบให้เข้าที่เพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า

สรุป
                

     แรงดันน้ำที่ผ่านหลอดลงไปทำให้เกิคลื่นใต้น้ำทำให้เรือเคลื่อนที่ไปข้างหน้า



วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 12

การเรียนการสอน
  • นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์กลุมละ 3 คน
  • อาจารย์ให้ความรู้กระบานการทางวิทยาศาสตร์ คือ การสมมุติฐาน ทดลอง วิเคราห์ เก็บข้อมูล สรุปและประเมินผลอาศัยทักษะที่เด็กต้องใช้ คือ ทักษะการสังเกตและทักษะการสื่อความหมาย การสอนวิทยาศาสตร์เด็กต้องรู้จักตั้งคำถามเด็กให้เด็กได้รู้จักการสังเกตและตอบคำถาม ให้เด็กได้ทดลองด้วยตนเอง เมื่อเริ่มทำการทดลองแล้วต้องถามเด็กว่า เกิดอะไรขึ้นกับสิ่งที่กำลังทดลอง


กลุ่มของข้าพเจ้านำเสนอเรื่องทีเด็ดน้ำยาล้างจานมีขั้นตอน ดังนี้


การทดลอง ตอน ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน

         น้ำยาล้างจาน ใคร ๆ ก็รู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับห้องครัว มีประสิทธิภาพเป็นอย่างดีในการทำความสะอาดจานชาม สำหรับการทดลองนี้ เราจะมาดูกันว่า น้ำยาล้างจานจะสามารถนำมาทำการทดลองสนุก ๆ อะไรได้บ้าง


                อุปกรณ์  1. แก้วน้ำ 2 ใบ  2. น้ำยาล้างจาน (ใช้ปริมาณเล็กน้อย) 3. ช้อน 1 คัน 4. กระดาษทิชชู่ (ตัดให้มีขนาดใหญกว่าคลิบเสียบกระดาษเล็กน้อย) 5. คลิบเสียบกระดาษ 2-3 ตัว



                วิธีการทดลอง
1. นำแก้วน้ำมาเติมน้ำจนเต็มพอดี
1. นำแก้วน้ำมาเติมน้ำจนเต็มพอดี                                                        

2. นำคลิบเสียบกระดาษค่อย ๆ วางบนผิวน้ำ โดยใช้กระดาษทิชชู่รองก่อน รอประมาณ 10 วินาที กระดาษ     ทิชชู่จะค่อย ๆ จมลงสู่ก้นแก้ว สังเกตลิบเสียบกระดาษจมเช่นเดียวกับกระดาษทิชชู่หรือไม่                                  

 


3. ใช้ช้อนตักน้ำยาล้างจานประมาณ 1 ใน 4 ช้อนชา หยดลงในแก้วน้ำที่มีคลิบเสียบกระดาษลอยอยู่ โดยหยดบริเวณใกล้ ๆ คลิบเสียบกระดาษ สังเกตผลที่เกิดขึ้น                                       

                สรุปผลการทดลอง                จากผลการทดลองจะเห็นว่าเมื่อกระดาษทิชชู่จมลงก้นแก้วแล้ว คลิบเสียบกระดาษยังสามารถลอยอยู่ที่ผิวน้ำได้ แต่ในการทดลองครั้งแรกหาก รีบวางคลิบพร้อมกระดาษทิชชู่รวดเร็วมากเกินไป คลิบอาจจมลงไปพร้อมกระดาษ ให้ทำการทดลองใหม่โดยค่อย ๆ วาง และหลังจากที่หยดน้ำยาล้างจานลงในแก้วน้ำที่มีคลิบลอยอยู่ คลิบจะจมทันที              
                จากทฤษฎี           โดยปกติแล้ว โมเลกุลของน้ำจะยึดเกาะกันแน่น เรียกว่า แรงตึงผิว การยึดเกาะกันแน่นของโมเลกุลของน้ำ ทำให้คลิบเสียบกระดาษสามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้ แต่เมื่อเราหยดน้ำยาล้างจานลงไป คลิบเสียบกระดาษที่ลอยอยู่จะจมทันที เนื่องจาก น้ำยาล้างจานมีคุณสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิว ทำให้แรงตึงผิวบริเวณผิวน้ำลดน้อยลง เพื่อให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ง่ายขึ้น เช่น การเกิดฟอง การทำให้เปียก และกระบวนการทำความสะอาดที่ดีขึ้น




วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 11

เรียนชดเชย

การเรียนการสอน

  • อาจารเน้นเรื่องของการทำ blogger เพราะอาจารย์จะทยอยตรจตรวจเรื่อย ๆ
  • ให้นักศึกษาแต่ละคนทำการสาธิตวิธีการทำของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละคนที่เตรียมมา
  • อาจารย์แนะนำการส่งเป็ปเปอร์เล่นวิทยาศาสตร์ว่าต้องประกอบด้วย วิธีการทำแต่ละขั้นตอนต้องมีรูปภาพปประกอบ และพร้อมกับสรุปแนวคิดของเรื่องที่ทำการนำเสนอเรื่องนั้น ๆ ของแต่ละคน
  • อาจารย์สั่งงานในนักศึกษาแบ่งกลุ่มละสามคนโดยที่อาจารย์มีกล่องลังใหญ่ให้ช่วยกันประดิษฐ์สื่่อเข้ามุมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ และสามารถดัดแปลงกล่องนั้นได้ขึ้นอยู่กับสื่อที่แต่ละคนช่วยกันทำ


 




ความรู้เพิ่มเติม

   ประโยชน์ของของเล่นและเกมทางวิทยาศาสตร์

        ของเล่นและเกมทางวิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ดังนี้       
        1. ของเล่นและเกมต่างๆ  สามารถสอนเกี่ยวกับหลักความจริงและให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ เช่นเดียวกับเทคนิคการสอนแบบอื่นๆ       
        2.ของเล่นและเกมฝึกให้ผู้เล่นรู้จักคิด รู้จักตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ทั้งยังช่วยให้ผู้เล่นเกิดทักษะในการคิดแก้ปัญหาได้รวดเร็วและถูกต้องดีขึ้น         
        3. ของเล่นและเกมช่วยให้ผู้เล่นสามารถเข้าใจแนวความคิดหลักการทางวิทยาศาสตร์ดีขึ้น และจดจำได้นาน        
        4. ของเล่นและเกมช่วยให้ผู้เล่นผ่อนคลายความตึงเครียดในการเรียน ทำให้สนุกสนานเพลิดเพลิน ทั้งจะช่วยปลูกฝังความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งช่วยให้ผู้เล่นได้เล็งเห็นคุณค่าพร้อมทั้งช่วยให้ผู้เล่นได้เล็งเห็นคุณค่าของการเรียนวิทยาศาสตร์อีกด้วย

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556