WELCOME TO BLOG PANWISA WIWITCAI

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556


สรุปความรู้ที่ได้จากวิจัย

                    เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ 
           เรื่องแสงที่มีต่อทัษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย



วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 17



การเรียนการสอน


      อาจารย์ให้กลุ่มเพื่อนที่ได้เลือกไว้ในอาทิตย์ที่แล้วมาทำคุ๊กกิ้ง วิธีการทำแกงจืดให้เพื่อนดู วิธีการทำว่าทำอย่าไรสอนเด็กในเรื่องอะไรบ้าง


แกงจืด

เครื่องปรุง


เต้าหู้หลอด 1 หลอดหมูสับปรุงรส 100 กรัมซุปไก่ก้อน ½ ก้อนซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) 2 ช้อนโต๊ะน้ำตาลทราย 1 ช้อนชาต้นหอม 2 ต้นผักชี 2 ต้นน้ำเปล่า 4 ถ้วยเครื่องปรุงหมูสับปรุงรสหมูสับ 100 กรัมน้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) 1 ช้อนชาน้ำตาลทราย ½ ช้อนชาพริกไทยป่น ½ ช้อนชา


วิธีทำ


1. นำหมูสับมาผสมกับเครื่องปรุงต่างๆ คือน้ำมันหอย ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) น้ำตาลทราย และพริกไทยป่น คลุกเคล้าเครื่องปรุงให้เข้ากับหมูสับ พักไว้


2. ตัดรากต้นหอมและผักชี นำไปล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำแล้วหั่นเป็นท่อนๆ จากนั้น นำเต้าหู้หลอดมาหั่นเป็นแว่นขนาดหนาประมาณ 1.5 ซม. 


3. เปิดเตาที่ไฟปานกลางค่อนข้างแรง ใส่น้ำเปล่าลงไปในหม้อ ใส่ซุปไก่ก้อนลงไป พอน้ำเดือดแล้วให้นำเต้าหู้หลอดที่หั่นไว้ใส่ลงไป รอจนน้ำเดือดอีกครั้งจึงตักหมูสับที่ปรุงไว้เป็นก้อนเล็กๆ ทะยอยใส่ลงไป 


4. ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) และน้ำตาลทราย จากนั้นก็นำต้นหอมและผักชีที่หั่นเป็นท่อนแล้วใส่ลงไป รอจนน้ำเดือดอีกครั้งแล้วปิดเตาทันที



วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 16



การเรียนการสอน

      อาจารย์จินตนามอบหมายให้อาจารย์ตฤณ มาสอนการทำคุ๊กกิ้งโดยให้แบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันคิดว่าจะทำเรื่องอะไรโดยให้ช่วยกันทำเป็นมายแม็บปิ้ง เรื่องคุ๊กกิ้ง ประกอบด้วยการทำอาหารง่าย ๆ สำหรับเด็กมีอาหารย์กี่ประเภทอะไรบ้าง
   กลุ่มของข้าพเจ้าช่วยกันคิดเรื่งการทำไข่เจียวทรงเครื่อง มีวัสดุอุปกรณ์ ส่วนประกอบ วิธีทำ ประโยชน์ หลังจากนั้นให้ทำแผนการสอนสอสเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คือ การสังเกตไข่จากที่ยังไม่สุก และสุกแล้วว่าเป็นอย่างไรมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไรพร้อมนำเสนอการทำคุ๊กิ้งของแต่ละกลุ่มแล้วให้ทุกคนช่วยกันเลือกว่าจะทำเรื่องอะไร ทุกคนช่วยกันเลือก คือ การทำแกงจืด ของกลุ่มเพื่อนแล้วให้นำเอาวัสดุอุปกรณ์มาสอนเพื่อนทำในอาทิตย์ต่อไป



             




    


     


       

      

      




วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 15



การเรียนการสอน (เรียนชดเชยวันอาทิตย์)


      อาจารย์แนะนำเรื่องของการทำบล็อกว่า ให้นักศึกษาหางานวิจัยใส่บล็อกด้วยพร้อมสรุปเนื้อหาของวิจัยเป็นองค์ความรู้ของตนเอง และการเขียนบล็อกแต่ละสัปดาห์จะต้องเขียนเป็นองค์ความรู้ของตนเองและจะมีการจัดนิทรรศกาลสื่อวิทยาศาสตร์
     เพื่อน ๆ นำสื่อเข้มมุมวิทยาศาสตร์ของแต่ละกลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอให้นำเสนอโดยมีเรื่อง การหักเหของแสง แรงโน้มถ่วง แรงดึงดูด ภาพสามมิติ กลุ่มของข้าเจ้านำเสนอเรื่อง สัตว์โลกน่ารักวงจรการเจริญเติบโตชีวิตของสัตว์ อาจารย์ให้คำเสนอแนะกลุ่มของข้าเจ้าว่าควรมีลูเล่นให้มากกว่านี้เพื่อดึงดุดความสนใจให้กับเด็กในการเล่นสื่อเข้ามุม อาจารย์ให้กลุ่มของข้าพเจ้านำไปปรับปรุงมาใหม่เพื่อที่จะนำเสนอในการจัดนิทรรสกาลสื่อครั้งต่อไป





            

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 14


การเรียนการสอน


        อาจารย์ให้เพื่อน ๆ แต่ละกลุ่มให้นำเสนอสื่อเข้ามุมกลุ่มละ 3 คน พร้อมกับมีข้อเสนอนแะให้แต่ละกลุ่มว่าควรทำอย่างไรบ้าง เช่น ต้องทำฐานให้แข็งแรง คงทน เมื่อเด็กนำไปเล่นหรือทำกิจกรรมแล้วสื่อจะได้ไม่พังง่าย และต้องมีคอนเซ็ปในการทำสื่อ หลักการแรกในการทำสื่อว่าต้องการให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องวิทยาศาสร์อะไรบ้าง





กลุ่มข้าพเจ้านำเสนอสื่อเข้ามุม

 เรื่องสัตว์โลกน่ารัก

  

อุปกรณ์

1.กระดาษลัง                                                     2.กระดาษร้อยปอนด์ 

3.แล็กซีนสีฟ้า                                                4.ที่ติดขอบ          

 5.สีไม้                                                                 6.ปากกาเคมี

    

7.กาวสองหน้า                                                 8.หมุด 
                                                                                                           
        

 9.กาวลาเท็กซ์                                                   10.สีเมจิก                                                                                              

    
                                                           
 11.ห่วง                                                                 12.กรรไกร

         

13.คัตเตอร์                                                          14.วงเวียน
      

วิธีการทำ

1.นำกระดาษลังมาตัดเป็นขาตั้งเหมือนปฎิทิน
2.นำกระดาษปอนด์มาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมตัดทั้งหมด6แผ่น
3.นำแล็กซีนติดขอบกระดาษและขาตั้งปฎิทินทั้งหมด
4.หลังจากนั้นวาดรูปของวงจรสัตว์แต่ละชนิดลงไปพร้อมระบายสีสวยงาม


5.นำกระดาษลังมาตัดเป็นรูปวงกลมให้ใหญ่กว่ารูปวงจรสัตว์ที่เราจะปิด
6.หลังจากนั้นนำกระดาษปอนด์แปะทับกระดาษลังที่ตัดเป็นวงกลม
7.เขียนรูปลูกศรลงบนกระดาษที่ตัดเป็นวงกลม

8.ตัดเปิดช่องให้กับกระดาษลังที่ตัดเป็นวงกลม1ช่อง


9.นำกระดาษคำที่พิมพ์เป็นชื่อหัวข้อต่างๆติดลงไปพร้อมติดขอบตกแต่งสวยงาม

10.เจาะรูที่กระดาษร้อยปอนด์ตรงกลางกระดาษ เจาะรูกระดาษลังที่ตัดเป็นวงกลมตรงกลางโดยวัดให้ตรงกันทั้งสองอย่าง
11.นำหมุดมาเสียบกับกระดาษที่เจาะรูเรียบร้อยแล้ว ซึ่งหมุดที่ใช้นั้นเป็นตัวยึดในการที่ให้กระดาษที่อยู่ด้านหน้านั้นหมุนได้โดยไม่ติด
12.นำขาตั้งที่ทำไว้และกระดาษวงจรสัตว์ที่วาดมาเจาะรูปตรงขอบบนเพื่อที่ว่าจะได้ใส่ห่วงแล้วทำให้สามารถเปิดได้เหมือนกับ ปฎิทิน

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เด็กเรียนรู้วงจรชีวิตและการเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิด
2.เพื่อให้เด็กฝึกการสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของสัตว์แต่ละชนิด
3.เพื่อให้เด็กเปรียบเทียบว่าสัตว์แต่ละชนิดมีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน

การนำไปใช้

ปฎิทินสัตว์โลกน่ารักเป็นการรวบรวมวงจรชีวิตและการเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิด เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ด้านวิทยาศาสตร์คือ

การสังเกต

เด็กได้สังเกตว่าสัตว์แต่ละชนิดมีการเจริญเติบโตอย่างไร เช่น กบ ซึ่งเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งบกครึ่งน้ำ วางไข่ในน้ำ จากนั้น เกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นลูกอ้อด และกลายเป็นลูกกบ และโตเต็มวัยกลายเป็นกบ เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลง

เด็กได้เรียนรู้ลำดับขั้นของการเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิด ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง โดยเด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองโดยผ่านการเล่นการจับ การสัมผัส เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 13

การเรียนการสอน


        นำเสนอสื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์ที่อาจารเคยให้เอากล่องลังไปทำกลุ่มละ 3 คน ว่ามีวิธีการทำอย่างไรและเมื่อเด็กเล่นจะสอนเด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เรื่องอะไรได้บ้าง เด็กมีวิธีเล่นสื่อที่ประดิษฐ์มาอย่างไร และให้เพื่อนนำเสนองานที่ค้างไว้ของเล่นของข้าพเจ้าคือ เรือแรงดันน้ำ


                      



            


 วิธีทำ



1. นำจานพลาสติกและถ้วยโฟมวัดกับแก้วกระดาษเพื่อเจาะรู

2.  เจาะรูจานพลาสติกและถ้วยโฟมกว้างจนกว่าแก้วกระดาษจะเอาเข้าไปได้

3.   เจาะรูแก้วกระดาษเพื่อที่จะเอาหลอดกาแฟเข้าไปได้

4.   นำจานพลาสติกและถ้วยโฟมที่เจาะรูมาปะกบกันนำแก้วมาตั้งเข้าไปตรงกลางจานพลาสติกและถ้วยโฟมที่เจาะรูไว้ นำหลอดกาแฟไปใส่ตรงแก้วกระดาษที่เจาะรูไว้แล้วทากาวเพื่อให้เกิดแรงดันน้ำผ่านหลอดลงไปกบพร้อมทั้งติดเทปใสจานพลาสติกและถ้วยโฟมที่ปะกบให้เข้าที่เพื่อกันไม่ให้น้ำเข้า

สรุป
                

     แรงดันน้ำที่ผ่านหลอดลงไปทำให้เกิคลื่นใต้น้ำทำให้เรือเคลื่อนที่ไปข้างหน้า



วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การเข้าเรียนครั้งที่ 12

การเรียนการสอน
  • นำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์กลุมละ 3 คน
  • อาจารย์ให้ความรู้กระบานการทางวิทยาศาสตร์ คือ การสมมุติฐาน ทดลอง วิเคราห์ เก็บข้อมูล สรุปและประเมินผลอาศัยทักษะที่เด็กต้องใช้ คือ ทักษะการสังเกตและทักษะการสื่อความหมาย การสอนวิทยาศาสตร์เด็กต้องรู้จักตั้งคำถามเด็กให้เด็กได้รู้จักการสังเกตและตอบคำถาม ให้เด็กได้ทดลองด้วยตนเอง เมื่อเริ่มทำการทดลองแล้วต้องถามเด็กว่า เกิดอะไรขึ้นกับสิ่งที่กำลังทดลอง


กลุ่มของข้าพเจ้านำเสนอเรื่องทีเด็ดน้ำยาล้างจานมีขั้นตอน ดังนี้


การทดลอง ตอน ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน

         น้ำยาล้างจาน ใคร ๆ ก็รู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับห้องครัว มีประสิทธิภาพเป็นอย่างดีในการทำความสะอาดจานชาม สำหรับการทดลองนี้ เราจะมาดูกันว่า น้ำยาล้างจานจะสามารถนำมาทำการทดลองสนุก ๆ อะไรได้บ้าง


                อุปกรณ์  1. แก้วน้ำ 2 ใบ  2. น้ำยาล้างจาน (ใช้ปริมาณเล็กน้อย) 3. ช้อน 1 คัน 4. กระดาษทิชชู่ (ตัดให้มีขนาดใหญกว่าคลิบเสียบกระดาษเล็กน้อย) 5. คลิบเสียบกระดาษ 2-3 ตัว



                วิธีการทดลอง
1. นำแก้วน้ำมาเติมน้ำจนเต็มพอดี
1. นำแก้วน้ำมาเติมน้ำจนเต็มพอดี                                                        

2. นำคลิบเสียบกระดาษค่อย ๆ วางบนผิวน้ำ โดยใช้กระดาษทิชชู่รองก่อน รอประมาณ 10 วินาที กระดาษ     ทิชชู่จะค่อย ๆ จมลงสู่ก้นแก้ว สังเกตลิบเสียบกระดาษจมเช่นเดียวกับกระดาษทิชชู่หรือไม่                                  

 


3. ใช้ช้อนตักน้ำยาล้างจานประมาณ 1 ใน 4 ช้อนชา หยดลงในแก้วน้ำที่มีคลิบเสียบกระดาษลอยอยู่ โดยหยดบริเวณใกล้ ๆ คลิบเสียบกระดาษ สังเกตผลที่เกิดขึ้น                                       

                สรุปผลการทดลอง                จากผลการทดลองจะเห็นว่าเมื่อกระดาษทิชชู่จมลงก้นแก้วแล้ว คลิบเสียบกระดาษยังสามารถลอยอยู่ที่ผิวน้ำได้ แต่ในการทดลองครั้งแรกหาก รีบวางคลิบพร้อมกระดาษทิชชู่รวดเร็วมากเกินไป คลิบอาจจมลงไปพร้อมกระดาษ ให้ทำการทดลองใหม่โดยค่อย ๆ วาง และหลังจากที่หยดน้ำยาล้างจานลงในแก้วน้ำที่มีคลิบลอยอยู่ คลิบจะจมทันที              
                จากทฤษฎี           โดยปกติแล้ว โมเลกุลของน้ำจะยึดเกาะกันแน่น เรียกว่า แรงตึงผิว การยึดเกาะกันแน่นของโมเลกุลของน้ำ ทำให้คลิบเสียบกระดาษสามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้ แต่เมื่อเราหยดน้ำยาล้างจานลงไป คลิบเสียบกระดาษที่ลอยอยู่จะจมทันที เนื่องจาก น้ำยาล้างจานมีคุณสมบัติเป็นสารลดแรงตึงผิว ทำให้แรงตึงผิวบริเวณผิวน้ำลดน้อยลง เพื่อให้เกิดกระบวนการต่าง ๆ ง่ายขึ้น เช่น การเกิดฟอง การทำให้เปียก และกระบวนการทำความสะอาดที่ดีขึ้น